วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ
        สารสนเทศ  หมายถึง ข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์กรต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของ
        สารสนเทศ  ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information   หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทส เป็นความรู้ และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้นการได้มา และประโยชน์ในการนำไปใช้

     ความหมายต่างของสารสนเทศ
           สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ทีประมวลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบ และวิเคราะห์ และสามารถนำไปใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สดวก และง่าย
        
   เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT  เป็นเทคโนโลยที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความหมายเกี่ยวข้องกับการวัดผล การประเมินผล และการแสดงผลสารสนเทศ
  
  I   Information
 C   Commanication
 T   Tecnoiogry
   องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ  ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
     1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักในปัจจุบัน เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วน บันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นหาข้อมูล  แบ่งออกเป็น  2 ส่วน คือ ฮาร์แวร์ และ ซอฟต์แวร์
       ฮาร์แวร์ เป็นอุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์พ่วง เชื่อมโยง จำแนกออกเป็น 4 ส่วน คือ 
1. หน่วยรับข้อมูล
2. หน่วยประมวลผลกลาง CPU
3. หน่วยแสดงผลข้อมูล
4. หน่วยความจำสำรอง


      
ซอฟต์แวร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ให้คอมพิวเตอร์ ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ                                              
1.
ซอฟต์แวร์ระบบ  เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ทำงานตามคำสั่ง
2.
ซอฟต์แวร์ประยุกต์  เป็นชุดคำสั่งที่ผู้ใช้สั่งเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

      2.
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีโทรคมนาคม หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรทัศน์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่ใช้ในการสื่อสารกัน


       ความสำคัญ
- แผนพัฒนาฉบับที่ 4 ( 2520-2524 ) การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการศึกษา  มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน และปฎิบัติการของสารสนเทศ
-
แผนพัฒนาฉบับที่ 8   ก็ได้เห็นความสำคัญของเทคโยโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
-
แผนพัฒนาฉบับที่ มีการจัดทำ แผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา
      
แผนพัฒนาข้างต้นทำให้เทคโนโลยสารสนเทศมีความสำคัญต่อการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น เพราะจะทำให้การศึกษาของชาติมีความทัดเทียดกัน และทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยการประยุกต์ใช้เทคโน,ยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า


    การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ยุคที่ 1 ประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณ และประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคคล
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมดำเนินการ ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารในระดับต่างๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยาการสารสนเทศมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจ นำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบัน หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความมคิดของการใช้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ ( เน้นการบริการ )



ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ให้ความรู้ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ
2.
ใช้ในการวางแผน และการบริหารงาน
3.
ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4.
ใช้ควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5.
เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ
สรุป
    
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณืเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่นดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเตอร์เน็ต ก่อให่เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานในสถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบบริหารการจัดการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ยังช่วยให้เกิดการลดความเลื่อมล้ำของโอกาศในการศึกษา การเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี

รูปแบบการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน
รูปแบบการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน แบ่งเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้
1. 
เทคโนโลยีการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายรูป วีดีทัศน์ เครื่องเอ็กซ์เรย์
2. 
เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบันทึกต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก  จานแสง หรือจานเลเซอร์ บัตรเอทีเอ็ม    
  
ATM   
ย่อมาจาก   A : Automatic    T : Teller     M : Machine

3.
เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่เทนโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์แวร์ และ ซอฟต์ แวร์
4.
เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล
5.
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6.
เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอด หรือ สื่อสารข้อมูล ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งระยะไกล และระยะใกล้

  
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในด้านธุรกิจ และทางการศึกษา
 
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ อะไร
  
การแสดงทางความคิดและความรู้ในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแผ่ สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แห่ ภาพ ข้อความ หรือตัวอักษร และตัวเลข และภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
     
การใช้อินเตอร์เน็ต ของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เพื่อความบันเทิง เนื่องจากมีความสดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ค้นหาความรู้
     
นักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตในการทำอะไรบ้าง
     
นักศึกษาใข้ในการสนทนากับเพื่อนๆ และการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด และใช้ในรูปแบบต่างๆ  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประกอบรายงาน
     
สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยี
นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน และห้องสมุดของสถาบัน
นักศึกษามีการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีที่น้อยคือ
      
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์

 

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การทำงานของระบบ Network และ Internet
โครงสร้างของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
๑. เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นในองค์กร โดยส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ใกล้กัน เช่น อยู่ภายในอาคาร หรือหน่วยงานเดียวกัน
๒. เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
๓. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Aera Network : WAN) เป็นเครือข่ายที่ใหญ่

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ซอฟแวร์  คือ การลำดับขั้นตอนของการทำงาน ของคำสั่งที่จะทำหน้าที่ส่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรม นำมารวมกันให้สามารถใช้งานครบถ้วน
หน้าที่ของซอฟแวร์
    ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟแวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย
                                                         


ประเภทของซอฟแวร์  แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
 1) ซอฟแวร์ระบบ
 2) ซอฟแวร์ประยุกต์
 3) ซอฟแวร์ใช้งานเฉพาะ
      1) ซอฟแวร์ระบบ เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อให้จัดการกับระบบ การทำงานคือ การดำงานพื้อนฐานต่างๆ
       ซอฟแวร์ระบบที่รู้จักกันดีก็คือ
DOS, Windows,Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง
                                หน้าที่ของซอฟแวร์ระบบ1) ในการจัดการหน่วยรับข้อมูล และส่งออกเช่น รับรู้ การกดแป้นต่างๆ
2 )ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกันคือ นำเอาข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้มากขึ้น
                               ประเภทของซอฟแวร์ระบบ    แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) ระบบปฏิบัติการ
2 )ระบบแปลภาษา
         ระบบปฏิบัติการหรือที่เรียกว่า OS เป็นซอฟแวร์ในการดูแลระบบคอมพิเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะต้องมีซอฟแวรืระบบปฏิบัติการนี้ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากก็เช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกส์ วีนุกส์ และแม้กอินทอสเป็นต้น
        1) ระบบปฏิบัติการ             1) ดอส เป็นซอฟแวร์ที่จัดการทำงานพัฒนามาแล้วการใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟแวร์ที่รู้จักกันดี ในหมู่ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในอดีตปัจจุบันระบบปฏิบัติการ ดอส นั้นมีงานใช้งานน้อยมาก
             2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถส่งงานโดยเมาส์มาขึ้น แทนการแผงแป้นอักขระ เพียงอย่างเดียว
             3) ยูนิกส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนา มาตั้งแต่ครั้งที่ใช้กับเครื่องมือมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด
             4) ลีนุกซ์ เป็นระบบที่ปฏิบัติการที่พัฒนาจากระบบยูนิกส์เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปีแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติ
                 ระบบลีนุกซ์สามารถทำงานได้บนซีพียู หลายตระกลูเช่น อินเทล ดิจิตอล และชันสปาร์ค
             5) แมคอินทอซ เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอซส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิกออกแบบและจัดแต่งเอกสารนิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
                                     ชนิดของระบบปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1) ประเภทใช้งานเดี่ยว ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ ใช้งานได้ครั้งละ1งานเท่านั้น
2 )ประเภทใช้หลายงาน สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงาน
3) ประเภทใช้งานหลายคน ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีของตนเอง เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง


2) ตัวแปลภาษา
         การพัฒนาต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
         ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรม เขียนโปรแกรมได้ง่าย เข้าใจได้และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ภายหลังได้ ได้แก่ ภาษา Basic , Pascal , C และ ภาษโลโกเป็นต้น
         นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น Fortran , Cobol และภาษาอาร์พีจี



๒) ซอฟต์แวร์ประยุกต์( Application Softwaer)
          ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานโดยเฉพาะเช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์เป็นต้น
        ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ แบ่งได้ดังนี้
                 . แบ่งตามลักษณะการผลิต

          - ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ ( Proprietary Software )
          - ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป ( Packaged Software )
                  .แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน
          - กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจ (Business)
           - กลุ่มการใช้งานด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย(Grapic and Multimedia)
           -กลุ่มการใช้งานบนเว็บ(Web and Communications)
 - กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจ (Business) ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน และการบันทึกนัดหมายต่างๆ เช่น
·  โปรแกรมประมวลผล อาทิ Microsoft word , Sun Star Office Writer
·  โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel , Sun Star Office cals
·  โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft PowerPoint  Sun Star Office Impress
- กลุ่มการใช้งานด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย(Grapic and Multimedia) เพื่อช่วยงานด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดียให้ง่ายขึ้นโดยการเอาสื่อทางเสียง ทางภาพมาผสมผสานกัน เช่นตัดต่อ วาดรูป ปรับเสียง การสร้างและออกแบบเว็บไซต์เป็นต้น
·  โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
·  โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ Corel DRAW , Adobe Photoshop
·  โปรแกรมตัดต่อวีดีโอและเสียง อาทิ Adobe Premieres, Pinnacle, Studio DV
·  โปรแกรมสร้างสื่อมัตติมีเดีย อาทิ Adobe Aut horware, Toolbook Instructor, Adobe Director
·  โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flrsh, Adobe Dreamweaver
   -กลุ่มการใช้งานบนเว็บ(Web and Communications) การเติบโตของอินเตอร์เน็ตทำให้ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเช็คอีเมล์ การท่องเว็บไซต์ การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่างโปรแกรมเช่น
·  โปรแกรมจัดการอีเมล์ อาทิ  Microsoft  Outlook, Mozzila Thunderbird
·  โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ   Microsoft  Internet Explorer, Mozzila Freefox
·  โปรแกรมประชุมทางไกล (Vidio Conference) อาทิ  Microsoft Netmeeting
·  โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ  MSN Messenger/Windows Messenger, MIRCH
·  โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ต อาทิ  PIRCH , MIRCH
 ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยากจึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษรเป็นประโยคข้อความ

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
     ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
·       ภาษาเครื่อง (Machine  Languages) ยุคที่ 1 ผู้ออกแบบใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่ง
·       ภาษาแอสเซมซี (Assembly  Languages) ยุคที่ 2 แปลชุดภาษาแอสเซมซีเป็นภาษาเครื่อง
·       ภาษาระดับสูง(Hight-Level  Languages) ยุคที่ 3 เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ มีอยู่ 2 ชนิด คือ คอมไพเลอร์ และ อินเทอร์พรีเตอร์